จัดงานศพ รู้หลักการจัดพิธีเผาศพ และ ขั้นตอนอย่างถูกต้อง

การจัดงานศพ หากต้องพูดถึงเรื่องของการตาย ความตาย หรือการเสียชีวิตของทุกคนก็ย่อมเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อมีการตายเกิดขึ้นในบ้าน เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องทำพิธีเผาศพเพื่อให้วิญญาณผู้ตายได้ไปสู่สุขคติพบภูมิที่ดี เรียกได้ว่าเป็นพิธีที่เสริมความสบายใจ ไว้อาลัยให้ต่างฝ่ายต่างหมดห่วงซึ่งกันและกันก็คงไม่ผิด ส่วนหลักการและขั้นตอนในการจัดงานศพนี้ก็มีค่อนข้างหลายกระบวนการและใช้งบประมาณจำนวนหนึ่งเช่นกัน ดังนั้น Susarn.com จะมาอธิบายข้อมูลโดยละเอียดให้ทุกท่านได้ทราบ

พิธีเผาศพ

จัดงานศพ งานศพเพื่อไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิต

จัดงานศพ

จัดงานศพ การทำพิธีเผาศพการจัดงานแบบนี้ควรต้องมีการเตรียมงบประมาณขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท และควรต้องมีการรีบดำเนินการทางเอกสาร รวมถึงการขนย้ายศพ พร้อมขนย้ายอุปกรณ์ข้าวของต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อประสานงานในด้านการจัดงานขึ้นมาให้แล้วเสร็จแบบเร็วที่สุด เป็นงานที่ไม่จำเป็นต้องดูฤกษ์หรือตรวจจำนวนวันที่เก็บศพไว้บ้านตามความเชื่อ ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่สามารถรับไหว ยิ่งไว้นานมาก ก็ยิ่งต้องมีงบประมาณสูงมากขึ้นตามระยะเวลา โดยบางครอบครัวก็มีความเชื่อว่าต้องเก็บศพไว้ที่บ้านหรือวัดนานถึง 7 วันก่อนถึงจะทำการนำไปเผาได้ หรือบางคนจัดงานแค่ 3 วันก็เผาก็ บ้างก็ 5 วันขึ้นอยู่กับความเชื่อ งบประมาณ และการจัดการบริหารเวลาของเจ้าภาพเอง

กระบวนการขั้นตอนในการ จัดงานศพ

กระบวนการและขั้นตอนสำหรับการ จัดงานศพ นั้นมีหลายขั้นตอน จึงต้องรับจัดการให้เสร็จสิ้นเร็วที่สุด พร้อมทั้งจัดเตรียมงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินการทุกอย่าง โดยขั้นตอนต้องเริ่มจากการแจ้งตายซึ่งหากผู้เสียชีวิตมาตายที่โรงพยาบาล ให้รับเอกสารรับรองการตายที่ รพ.ออกให้ นำใบรับรองและบัตรประชาชนผู้ตายไปที่อำเภอเพื่อขอรับใบมรณะบัตร แต่หากเป็นการถึงแก่กรรมที่บ้าน ให้เจ้าบ้านไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อขอรับเอกสารรับรองการตาย และนำไปแจ้งต่อผุ้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่อำเภอภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อขอรับใบมรณะบัตร ถัดมาจะเป็นการนำศพไปวัด ให้เจ้าบ้านหรือตัวแทนไปติดต่อวัดเพื่อนำศพไปทำบุญบำเพ็ญกุศล โดยต้องมีพระมานำศพ 1 องค์ หรือที่เรียกว่าการชักศพเพื่อนำไปวัดเพื่อทำบุญและบำเพ็ญกุศล หลังจากนั้นจะเริ่มพิธีรดน้ำศพ โดยทางเจ้าภาพจัดพิธีรดน้ำศพ มีเครื่องใช้ดังนี้ น้ำอบ น้ำหอม ขันใส่น้ำพร้อมขันเล็กสำหรับตักน้ำให้แขก ขันใบใหญ่สำหรับรองที่มือเพื่อรับน้ำที่ลด โดยจัดมาเองหรือให้ทางวัดเป็นธุระก็ได้

ควรมีการจุดธูปบูชาพระโดยการเชิญผู้อาวุโสในงานเป็นผู้ทำพิธีบูชาพระรัตนตรัยก่อน วางเครื่องบูชาไว้ทางด้านศีรษะของศพ เวลาที่เหมาะสมในการลดน้ำศพได้แก่ ระหว่าง 16.00-17.00 น. การรดน้ำศพควรให้ลูกหลาน ญาติสนิทลดก่อน เพราะเมื่อแขกมาจะได้ไม่ต้องมากเกินไป เพื่อไม่ให้เสียเวลา ซึ่งเจ้าภาพ ต้องจัดให้มีผู้คอยให้บริการแก่แขกที่มารดน้ำศพด้วย หรือให้ลูกหลายทำหน้าที่นี้ก็ได้ เมื่อการรดน้ำศพเสร็จแล้ว ถ้ามีน้ำหลวงอาบศพให้เชิญผู้อาวุโสในงานเป็นผู้รดน้ำเป็นคนสุดท้าย และเมื่อผู้อาวุโสได้ทำพิธีรดอาบน้ำศพเป็นคนสุดท้ายแล้วจึงเป็นการเสร็จพิธีโดยสมบูรณ์ จะไม่ให้ผู้ใดมารดน้ำศพอีก

8 ขั้นตอนในการปฏิบัติเมื่อมีคนตายในบ้าน

สิ่งที่ควรรู้และควรปฎิบัติมากที่สุดก่อนเริ่ม จัดงานศพ เมื่อมีคนเสียชีวิตที่บ้าน ดังนี้

  1. ให้ไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน หรือที่อำเภอ เพื่อของรับใบมรณะบัตร
  2. ติดต่อวัด นำศพไปวัด
  3. จัดทำพิธีศพด้วยการ อาบน้ำศพ
  4. นิมนต์พระสวดอภิธรรม
  5. การบรรจุศพ
  6. พิธีฌาปนกิจ
  7. การเก็บกระดูก หรือเก็บอัฐิ
  8. นำเถ้ากระดูกไปลอยอังคาร
สวดศพ

การจัดงานบำเพ็ญกุศล จัดงานศพ

การสวดพระอภิธรรม หรือการสวดศพในการ จัดงานศพ ให้ทำในวันตั้งศพเป็นต้นไป การสวดศพนิยมทำกัน 1, 3, 5 หรือ 7 คืน หรือมีการสวดพระอภิธรรมสัปดาห์ 1 วันก็ได้ ทำไปจนกว่าจะครบ 100 วัน ตามประเพณีจะนิยมให้พระ 4 องค์มาสวดคืนละ 4 รอบ ปกติพิธีสวดจะเริ่มเวลาประมาณ 19.00 น. เจ้าภาพต้องจัดเตรียมเครื่องไทยธรรมและของใช้ให้พร้อมในการถวายพระ และบังสุกุลศพ หรือให้ทางวัดเป็นธุระให้ก็ได้ เงินปัจจัยถวายพระ 4 องค์ อาหารว่างเช่น ข้าวต้ม กระเพาะปลา เลี้ยงแขผู้มาร่วมงาน ถ้าผู้ตายเป็นผู้ใหญ่มีผู้เคารพนับถือมาก จะให้แขกร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมประจำคืนด้วยก็ได้ โดยจะต้องขึ้นชื่อภาพไว้ที่กระดานประกาศตามลำดับก่อนหลัง แต่สำหรับในการสวดพระอภิธรรมคืนแรกควรเป็นของญาติสนิท และลูกหลาน คือต่อ ๆ มาจึงให้แขกผู้มีเกียรติร่วมทำบุญกุศลศพต่อไป
การเผาศพ หรือการฌาปนกิจ

บำเพ็ญกุศล

ส่วนการเผาศพ เจ้าภาพจะต้องเป็นผู้กำหนดให้เป็นที่แน่นอนว่าจะเป็นเมื่อไหร่ วันไหน และจัดให้ตรงตามที่กำหนดนั้นโดยการทำความตกลงกับทางวัดก่อนที่จะจองวันตามกำหนด และการเก็บศพไว้ก่อนพิธีฌาปนกิจ จะต้องนำศพมาสวดพระอภิธรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยจะสวด 1 คืน และรุ่งขึ้นค่อยทำพิธี การทำพิธีฌาปนกิจ ให้ตั้งศพตอนเช้าเลี้ยงพระเพล นิมนต์พระขึ้นเทศตอนบ่าย ก่อนทำพิธีฌาปนกิจตอนเย็น หรือเรียกว่า ตั้งเช้า เผาเย็น หากผู้ตายเป็นบุพการี สามี หรือภรรยา ให้ตั้งสวดพระอภิธรรมต่ออีก 1 คืน เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้ตาย เพื่อเป็นการบำเพ็ญกุศลเพิ่มให้ผู้ตายเป็นพิเศษอีก 1 คืน

ลำดับพิธีการจัดงานศพ

ฌาปนกิจ

แน่นอนว่าในการ จัดงานศพ ก็ต้องมีลำดับอย่างเป็นทางการต่าง ๆ ดังนี้

  • เวลา 09.00 น. เชิญศพตั้งบนศาลารอการบำเพ็ญกุศล
  • เวลา 10.15 น. นิมนต์พระสงฆ์นั่งประจำที่
  • เวลา 10.20 น. เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
  • เวลา 10.25 น. เริ่มพิธี
  • เวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพล และเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์
  • เวลา 12.00 น. เลี้ยงอาหารแก่ญาติมิตรที่มาร่วมงาน
  • เวลา 14.00 น. นิมนต์พระสงฆ์เทศบนอาสน์สงฆ์
  • เวลา 15.00 น. นิมนต์พระมาสวดมาติกาบังสุกุล 10 รูป
  • เวลา 15.30 น. เคลื่อนศพวนเมรุ 3 รอบ มีญาติและแขกเดินตาม มีพระสงฆ์นำ 1 รูป
  • เวลา 15.30 น. เชิญศพขึ้นสู่เมรุ แจกของชำร่วยงานศพ
  • เวลา 16.00 น. อ่านคำไว้อาลัย หรือยืนเพื่อแสดงความเคารพศพ
  • เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ขึ้นทอดผ้าบังสุดุล ตามลำดับอาวุโส
  • ประธานในพิธีทำการทอดผ้าบังสุกุลหน้าหีบศพ
  • เจ้าภาพเชิญแขกที่มาร่วมวานขึ้นทำพิธีประชุมเพลิง

 

การเก็บอัฐิ

ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนอย่างเป็นทางการหลัก ๆ ของการ จัดงานศพ ที่ถูกต้อง เพื่อการจัดสรรเวลาที่เข้าที่และลงตัวมากที่สุดและเมื่อพิธีฌาปนกิจศพผ่านพ้นไปแล้ว ควรปล่อยเถ้ากระดูกไว้ 1 คืน เพื่อรอการเก็บกระดูกในวันรุ่งขึ้น โดยให้นัดกับสัปเหร่อไว้ก่อนล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาเจ้าภาพควรเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ในการเก็บกระดูกมาให้พร้อม หรือจะให้ทางวัด หรือสัปเหร่อจัดไว้ให้ก่อนก็ได้ เมื่อเจ้าภาพมาถึง สัปเหร่อจะจัดการเรียงกระดูกไว้ให้เรียบร้อยแล้ว โดยมีชิ้นส่วนของผู้ตายครบตั้งแต่ กะโหลกศีรษะ ลำตัว แขน ขาเพื่อให้เจ้าภาพเลือกเก็บได้อย่างสะดวก เมื่อเก็บกระดูกแล้ว ส่วนหนึ่งอาจนำใส่ในโกศ อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเถ้ากระดูกให้นำห่อผ้าขาวผูกให้เรียบร้อยเพื่อนำไปลอยอังคารตามวันเวลาที่กำหนดต่อไป พิธีลอยอังคาร หรือลอยเถ้ากระดูกผู้ตาย เว็บ Susarn.com มีบทความเกี่ยวกับขั้นตอนการลอยอังคารและสถานที่ที่มีบริการลอยอังคาร ให้ศึกษาข้อมูลกันเลยค่า

เก็บอัฐิ

โดยในการ จัดงานศพ เราจะคุ้นกันดีหลังพิธีเสร็จคือ เมื่อการจัดเก็บกระดูกเรียบร้อย กระดูกส่วนที่เหลือเป็นเถ้าที่ห่อไว้แล้วให้นำไปลอยอังคาร หรือเก็บไว้ที่สถานที่เหมาะสม เช่น กำแพงวัด หรือช่องหน้าโบสถ์ที่ทางวัดเตรียมไว้ให้เป็นที่บรรจุกระดูก แต่ถ้าต้องการนำไปลอยอังคารก็สามารถทำได้ โดยให้นักแนะหรือจองพาหนะ สถานที่นิยมเพื่อการลอยอังคารได้แก่ บริเวณปากน้ำ หรือในทะเลอ่าวไทย ซึ่งต้องอาศัยเรือเป็นพาหนะ ให้นักแนะเจ้าของเรือรับจ้างและนำเถ้ากระดูกที่ห่อไว้ในผ้าขาวไปลอย โดยการแก้ห่อผ้าขาวที่บรรจุเถ้ากระดูกไว้ โปรยเถ้ากระดูกที่เป็นผงส่วนใหญ่ลงในน้ำพร้อมทิ้งผ้าขาวที่ห่อไปพร้อมกันด้วย จะเห็นเถ้ากระดูกค่อย ๆ จมลงในน้ำยกมือไหว้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเห็นเถ้ากระดูกค่อย ๆ จมลงได้อย่างสงบ เป็นอันเสร็จพิธีงานศพอย่างสมบูรณ์