บวชหน้าไฟ อุทิศส่วนบุญกุศลให้คนเป็นหรือคนตาย

บวชหน้าไฟ

บวชหน้าไฟ พุทธศาสนิกชนหลายท่านคงจะเคยได้ยินคำนี้กันอยู่ ความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านานนี้มีที่มาจากอะไร แล้วบวชเพื่อใคร คนเป็นหรือคนตาย งานศพ กันแน่ ?พิธีกรรมและความเชื่อที่ปู่ย่าตายายซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันมาอย่างช้านานไม่ว่าในเทศกาลประจำปี เทศกาลใหญ่ ๆ หรือประเพณีของชาวบ้านตามต่างจังหวัดเป็นภาพที่เราเห็นมาจนชินตาแล้วอย่างเช่น  การบวชเณร การสวดมนต์ไหว้พระ การถวายสังฆทาน รวมไปถึง การบวชหน้าไฟด้วย ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า แท้จริงแล้วมีที่มาจากอะไรกันแน่ ถึงแม้ว่าหลายคนคงจะเข้าใจกันดีว่าเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในช่วง งานศพ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ตายก็ตาม แต่รายละเอียดลึก ๆ นั้นเราเข้าใจกันถูกมาตลอดหรือไม่ มาติดตามกัน อธิบายความหมายของ บวชหน้าไฟ คืออะไร ความหมายของคำว่า บวชหน้าไฟ หรือ บรรพชาสามเณรหน้าไฟ พระธรรมกิตติวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้ให้นิยามความหมายไว้ว่า เป็นการบวชของลูกหลานเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ตาย ลักษณะจะเป็นการบวชสามเณรมากกว่าบวชภิกษุเสียมากกว่า เพราะใช้ระยะเวลาไม่นานเพียงแค่ 1 -2 วันเอง และใช้เวลาเตรียมการไม่มากจุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งของการบวชหน้าไฟ นอกจากอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับแล้วอีกอย่างหนึ่ง คือ เพื่อแสดงความกตัญญูตอบแทนผู้มีพระคุณในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะบวชต่อหน้าไฟที่กำลังเผาร่างของผู้ที่ล่วงลับไป ซึ่งการบวชนี้บางคนอาจเรียกว่าเป็นการบวชเฉพาะกิจก็ได้ เพราะบางคนอาจไม่สะดวกในการลาหรือติดธุระจึงบวชในช่วงเช้า พอบ่ายเผาศพ หลังจากเสร็จ งานศพ อาจสึกทันทีเลยก็มีเหมือนกัน  ประวัติความเป็นมาของการ บวชหน้าไฟ ความเป็นมาของการ […]