เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทำอะไรบ้าง มีขั้นตอนและวิธีการจัดงานอย่างไร

สิ่งที่เจ้าภาพต้องเตรียมการในวันฌาปนกิจศพ

เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทำอะไรบ้าง งานอวมงคลที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับคนใกล้ตัว นอกจากจะเป็นการจัดพิธีกรรมตามความเชื่อของศาสนา แล้วยังเป็นการให้คนใกล้ชิดผู้ตายได้มาพบหน้าและให้กำลังใจกันการจัดงานบำเพ็ญกุศล หรือ สวดพระอภิธรรมศพ นั้นเป็นพิธีกรรมทางศาสนาอย่างหนึ่งที่มีจุดประสงค์ในการให้ครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหาย ได้ทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต และยังเป็นการแสดงถึงความเคารพนับถือต่อผู้ล่วงลับ อีกทั้งยังเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาที่ทำให้สมาชิกครอบครัว ญาติสนิทมิตรสหาย ที่มีความเกี่ยวข้อง และใกล้ชิดมาพบหน้ากันรับทราบถึงการจากไป และให้กำลังใจซึ่งกันและกันพร้อมที่จะก้าวเดินไปข้างหน้า เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทำอะไรบ้าง ก่อนเริ่มการจัดงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทำอะไรบ้าง ในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ว่าจะเสียชีวติ และเริ่มจัดงาน สวดพระอภิธรรมศพ ได้ตอนไหน แต่หากมีผู้เสียชีวิตต้องมีการจัดเตรียมทั้งพิธีการทางศาสนา รวมไปถึงขั้นตอนตามกฎหมาย และทะเบียนราษฎร์เพราะทางเขตต้องอัปเดตข้อมูลของผู้ที่อยู่อาศัยให้เป็นปัจจุบัน อีกทั้งต้องขอใบมรณบัตร ไปจนถึงการเตรียมงาน และสถานที่จัดพิธีกรรม หากบ้านกว้างขวางหรือพอมีสถานที่ก็สามารถจัดพิธีกรรมได้ที่บ้าน แต่หากสถานที่ไม่เอื้ออำนวยก็สามารถติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ของวัดใกล้บ้านเพื่อสอบถามค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีกรรมซึ่งแต่ละวัดก็จะมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากันยิ่งเป็นวัดใหญ่ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น หรือมีศาลาสำหรับจัดงานโดยเฉพาะที่สามารถรับแขกได้จำนวนมากราคาก็จะแพง อีกทั้งยังต้องเตรียมการเรื่องอุปกรณ์ของใช้ที่เกี่ยวข้องกับพิธีการ รวมไปถึงการจัดเตรียมสถานณ์ที่ และการจัดเตรียมอาหารสำหรับพระสงฆ์ รวมไปถึงแขกเรื่อที่มาร่วมงาน การจัดเตรียมอาหารสามารถใช้บริการร้านรับจัดอาหารสำหรับงานศพโดยเฉพาะซึ่งมีให้บริการหลากหลายเจ้า หรือสามารถใช้สถานที่ของวันในการทำอาหารเลี้ยงแขกด้วยตัวเอง อีกทั้งยังต้องเตรีมของชำร่วยสำหรับแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทําอะไรบ้าง และการจัดการเมื่อมีผู้เสียชีวิตต้องทำอย่างไร หากมีคนในครอบครัวหรือญาติเสียชีวิตการจัดการเกี่ยวกับศพของผู้เสียชีวิตก่อนจัดงานศพ เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทำอะไรบ้าง เกี่ยวกับศพผู้เสียชีวิตจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ กรณีแรก เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตที่โรงพยาบาลแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยก่อนผู้ป่วยจากไปจะเป็นผู้ออกใบรำรองการเสียชีวิตให้แก่ญาติของผู้เสียชีวิตเพื่อนำไปเป็นหลักฐานได้ในการประกอบการแจ้งตาย หรือการขอใบมรณบัตร บุคคลที่สามารถแจ้งตายได้ในกรณีนี้คือโรงพยาบาลที่อยู่ในฐานะเจ้าบ้าน […]

บวชหน้าไฟ อุทิศส่วนบุญกุศลให้คนเป็นหรือคนตาย

บวชหน้าไฟ

บวชหน้าไฟ พุทธศาสนิกชนหลายท่านคงจะเคยได้ยินคำนี้กันอยู่ ความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านานนี้มีที่มาจากอะไร แล้วบวชเพื่อใคร คนเป็นหรือคนตาย งานศพ กันแน่ ?พิธีกรรมและความเชื่อที่ปู่ย่าตายายซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันมาอย่างช้านานไม่ว่าในเทศกาลประจำปี เทศกาลใหญ่ ๆ หรือประเพณีของชาวบ้านตามต่างจังหวัดเป็นภาพที่เราเห็นมาจนชินตาแล้วอย่างเช่น  การบวชเณร การสวดมนต์ไหว้พระ การถวายสังฆทาน รวมไปถึง การบวชหน้าไฟด้วย ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า แท้จริงแล้วมีที่มาจากอะไรกันแน่ ถึงแม้ว่าหลายคนคงจะเข้าใจกันดีว่าเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในช่วง งานศพ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ตายก็ตาม แต่รายละเอียดลึก ๆ นั้นเราเข้าใจกันถูกมาตลอดหรือไม่ มาติดตามกัน อธิบายความหมายของ บวชหน้าไฟ คืออะไร ความหมายของคำว่า บวชหน้าไฟ หรือ บรรพชาสามเณรหน้าไฟ พระธรรมกิตติวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้ให้นิยามความหมายไว้ว่า เป็นการบวชของลูกหลานเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ตาย ลักษณะจะเป็นการบวชสามเณรมากกว่าบวชภิกษุเสียมากกว่า เพราะใช้ระยะเวลาไม่นานเพียงแค่ 1 -2 วันเอง และใช้เวลาเตรียมการไม่มากจุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งของการบวชหน้าไฟ นอกจากอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับแล้วอีกอย่างหนึ่ง คือ เพื่อแสดงความกตัญญูตอบแทนผู้มีพระคุณในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะบวชต่อหน้าไฟที่กำลังเผาร่างของผู้ที่ล่วงลับไป ซึ่งการบวชนี้บางคนอาจเรียกว่าเป็นการบวชเฉพาะกิจก็ได้ เพราะบางคนอาจไม่สะดวกในการลาหรือติดธุระจึงบวชในช่วงเช้า พอบ่ายเผาศพ หลังจากเสร็จ งานศพ อาจสึกทันทีเลยก็มีเหมือนกัน  ประวัติความเป็นมาของการ บวชหน้าไฟ ความเป็นมาของการ […]

ดอกไม้จันทน์ ประวัติและการนำไปใช้เป็นอย่างไร

ดอกไม้จันทน์

ดอกไม้จันทน์ พิธีการนำดอกไม้จันทน์ไปใช้ใน งานศพ ถือเป็นการแสดงความอาลัยต่อผู้วายชนม์เป็นครั้งสุดท้ายของบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย เป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้ตายให้ไปสู่สรวงสวรรค์ หรือภพภูมิที่ดี เป็นสิ่งสุดท้ายของผู้อยู่ข้างหลังจะทำไห้กับผู้ตายซึ่งเป็นบุคคลที่รักและเคารพเป็นครั้งสุดท้าย ที่ตำนานเชื่อกันมาอย่างนั้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ประวัติความเป็นมาของดอกไม้จันทน์ วันนี้ของโอกาสมานำเสนอเพื่อให้เป็นวิทยาทาน ดอกไม้จันทน์ การใช้ดอกไม้ในงานอวมงคลต่าง ๆ ดอกไม้จันทน์ เริ่มแรกจะเป็นการนำไม้จันทร์มาทำเป็นหีบศพ และเป็นไม้ฟืนในการเผา หรือการฌาปนกิจศพไปด้วย พร้อมกันนี้ไม้จันทร์ยังถูกนำมาทำเป็นโกศสำหรับบรรจุศพ งานศพ เจ้านายชั้นสูงอีกด้วย ไม้จันทร์เป็นไม้ประวัติศาสตร์ มีประวัติการใช้ที่ได้บันทึกไว้ว่าในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี เมื่อต้องมีการประหารพระเจ้ากรุงธนบุรีเนื่องจากวิกลจริตนั้น เพชฌฆาตก็ใช้ท่อนจันทร์หรือไม้จันทร์เป็นเครื่องมือให้การประหาร และในสมัยโบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัย อยุธยาก็ปฏิบัติเช่นนี้กับเจ้านายชั้นสูงมาโดยตลอด เรื่องได้มาสอดคล้องกับความเชื่อของคนไทยที่ว่าการเผาเครื่องหอมต่าง ๆ เพื่อถวายแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์และการบูชาพระพุทธรูปก็ให้ใช้ธูปหอมที่ทำจากไม้จันทร์เป็นเครื่องสังเวย ไม้จันทร์จึงได้กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในการนำมาทำเป็นเครื่องประกอบกิจในทางศาสนา และการบูชา กราบไหว้ในที่สุด นอกจากนั้นเครื่องหอมไทยต่าง ๆ ก็มีส่วนผสมของไม้จันทร์อยู่ด้วย เช่น กำยาน น้ำอบไทย น้ำปรุงเครื่องสำอางต่าง ๆ ไม้จันทร์เป็นไม้มงคลที่หาไม่ได้ง่าย ๆ ต่อมาไม้จันทร์เริ่มหายากมากขึ้นจะนำมาใช้งานต้องระวัง ในสมัย ร.5 ได้มีการเริ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทร์ขึ้นมาแทนไม้จันทร์ปกติที่เริ่มหายากขึ้นทุกที และเริ่มนำมาใช้กับสามัญชนโดยการนำไม้อื่นๆ มาผสมให้กลมกลืน โดยเฉพาะไม่โมก แต่ก็เริ่มหายากเช่นกัน จึงได้คิดประยุกต์นำไม้อื่น ๆ มาใช้แทนแต่ยังคงชื่อไม้จันทร์เช่นเดิม รูปแบบของการใช้งาน ดอกไม้จันทน์ รูปแบบของ […]