เรือลอยอังคาร แนะนำ 5 สถานที่ให้บริการเรือสำหรับพิธีลอยอังคาร ในราคาประหยัด

พิธีลอยอังคาร

เรือลอยอังคาร มีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมความเชื่อของคนไทยที่มีมาอย่างยาวนาน ที่มักจะกระทำหลังจากที่เผาศพเสร็จแล้ว ก็จะเก็บอัฐิไปทำบุญ ห่อด้วยผ้าขาวหรือบรรจุในโถ นำไปทิ้งลงแม่น้ำ หรือที่เราเรียกกันว่า พิธีลอยอังคาร ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำสถานที่ให้บริการกันในราคาประหยัด เรือลอยอังคาร แนะนำประวัติ เรือทำพิธีลอยอังคาร ให้ได้รู้จักกัน เรือลอยอังคาร ความเป็นมานั้น คำว่า ‘อังคาร’ หมายถึง เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว แต่คนเรามักจะเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าหมายถึง อัฐิหรือกระดูกของคนตายที่เผาแล้ว ก่อนหน้าที่จะมีพิธีกรรมนี้ก็จะมีพิธีเก็บอัฐิและทำบุญให้กับผู้ตาย หลังจากนั้นก็จะเก็บอังคารของผู้เสียชีวิตมาบรรจุในผ้าขาวห่อให้มิดชิด หรือบรรจุในโถ แล้วไปทิ้งไว้กลางแม่น้ำตอนลึกอันที่จริงแล้ว พิธีลอยอังคาร นี้มีการสันนิษฐานว่ามาจากประเทศอินเดีย เพราะคติความเชื่อของคนอินเดียที่นับถือแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ การเผาศพจึงกระทำกันบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อความสะดวกในการนำกระดูกและเถ้าถ่านลอยไปกับแม่น้ำ แต่สำหรับประเทศไทยบ้านเราพิธีกรรมนี้ถูกบันทึกในพงศาวดารว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ซึ่งมักจะกระทำกันในชนชั้นเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น   ก่อนที่จะมาเป็นเรือลอยอังคารในปัจจุบัน อย่างที่ได้เกริ่นไปในช่วงแรกว่า เรือลอยอังคาร เป็นพาหนะที่ใช้สำหรับประกอบพิธีการลอยอัฐิของคนตายลงสู่แม่น้ำ แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าก่อนที่จะมาเป็นพิธีนี้ คนไทยเรามีวิธีการจัดการกับอัฐิคนตายอย่างไร การลอยอัฐิเป็นพิธีกรรมที่รับมาจากพิธีกรรมของชาวอินเดียในสมัยก่อน ซึ่งกระทำกันบริเวณแม่น้ำคงคา แม่น้ำที่ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินเดีย สาเหตุที่เรารับมาก็เพราะว่าการจัดการกับอัฐิคนตายของคนไทย ยังใช้วิธีการฝังหรือปล่อยทิ้งไว้ตามวัด ซึ่งสัตว์อาจมาคุ้ยเขี่ย ทำให้เป็นการไม่ให้เกียรติกับคนตาย จึงได้มีการนำเอา พิธีลอยอังคาร มาปรับใช้กับคนไทย บางคนก็อาจนำไปลอยทั้งหมด แต่บางคนอาจลอยเพียงแค่บางส่วน อีกส่วนหนึ่งก็ถูกเก็บรักษาไว้บูชา โดยส่วนที่เก็บไว้ในโกฐจะถูกเรียกว่า อัฐิ แต่ส่วนที่นำไปลอยจะถูกเรียกว่า […]

เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทำอะไรบ้าง มีขั้นตอนและวิธีการจัดงานอย่างไร

สิ่งที่เจ้าภาพต้องเตรียมการในวันฌาปนกิจศพ

เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทำอะไรบ้าง งานอวมงคลที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับคนใกล้ตัว นอกจากจะเป็นการจัดพิธีกรรมตามความเชื่อของศาสนา แล้วยังเป็นการให้คนใกล้ชิดผู้ตายได้มาพบหน้าและให้กำลังใจกันการจัดงานบำเพ็ญกุศล หรือ สวดพระอภิธรรมศพ นั้นเป็นพิธีกรรมทางศาสนาอย่างหนึ่งที่มีจุดประสงค์ในการให้ครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหาย ได้ทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต และยังเป็นการแสดงถึงความเคารพนับถือต่อผู้ล่วงลับ อีกทั้งยังเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาที่ทำให้สมาชิกครอบครัว ญาติสนิทมิตรสหาย ที่มีความเกี่ยวข้อง และใกล้ชิดมาพบหน้ากันรับทราบถึงการจากไป และให้กำลังใจซึ่งกันและกันพร้อมที่จะก้าวเดินไปข้างหน้า เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทำอะไรบ้าง ก่อนเริ่มการจัดงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทำอะไรบ้าง ในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ว่าจะเสียชีวติ และเริ่มจัดงาน สวดพระอภิธรรมศพ ได้ตอนไหน แต่หากมีผู้เสียชีวิตต้องมีการจัดเตรียมทั้งพิธีการทางศาสนา รวมไปถึงขั้นตอนตามกฎหมาย และทะเบียนราษฎร์เพราะทางเขตต้องอัปเดตข้อมูลของผู้ที่อยู่อาศัยให้เป็นปัจจุบัน อีกทั้งต้องขอใบมรณบัตร ไปจนถึงการเตรียมงาน และสถานที่จัดพิธีกรรม หากบ้านกว้างขวางหรือพอมีสถานที่ก็สามารถจัดพิธีกรรมได้ที่บ้าน แต่หากสถานที่ไม่เอื้ออำนวยก็สามารถติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ของวัดใกล้บ้านเพื่อสอบถามค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีกรรมซึ่งแต่ละวัดก็จะมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากันยิ่งเป็นวัดใหญ่ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น หรือมีศาลาสำหรับจัดงานโดยเฉพาะที่สามารถรับแขกได้จำนวนมากราคาก็จะแพง อีกทั้งยังต้องเตรียมการเรื่องอุปกรณ์ของใช้ที่เกี่ยวข้องกับพิธีการ รวมไปถึงการจัดเตรียมสถานณ์ที่ และการจัดเตรียมอาหารสำหรับพระสงฆ์ รวมไปถึงแขกเรื่อที่มาร่วมงาน การจัดเตรียมอาหารสามารถใช้บริการร้านรับจัดอาหารสำหรับงานศพโดยเฉพาะซึ่งมีให้บริการหลากหลายเจ้า หรือสามารถใช้สถานที่ของวันในการทำอาหารเลี้ยงแขกด้วยตัวเอง อีกทั้งยังต้องเตรีมของชำร่วยสำหรับแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทําอะไรบ้าง และการจัดการเมื่อมีผู้เสียชีวิตต้องทำอย่างไร หากมีคนในครอบครัวหรือญาติเสียชีวิตการจัดการเกี่ยวกับศพของผู้เสียชีวิตก่อนจัดงานศพ เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ทำอะไรบ้าง เกี่ยวกับศพผู้เสียชีวิตจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ กรณีแรก เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตที่โรงพยาบาลแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยก่อนผู้ป่วยจากไปจะเป็นผู้ออกใบรำรองการเสียชีวิตให้แก่ญาติของผู้เสียชีวิตเพื่อนำไปเป็นหลักฐานได้ในการประกอบการแจ้งตาย หรือการขอใบมรณบัตร บุคคลที่สามารถแจ้งตายได้ในกรณีนี้คือโรงพยาบาลที่อยู่ในฐานะเจ้าบ้าน […]

พิธีลอยอังคาร พิธีส่งวิญญาณให้ไปสู่สุขคติภพภูมิที่ดี

พิธีลอยอังคาร

พิธีลอยอังคาร มนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด เมื่อเกิดมาแล้วการใช้ชีวิตอยู่บนโลกในแบบใดก็ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน แต่ไม่ว่าอย่างไรสุดท้ายก็มีจุดจบตรงที่ความตายเสมอ ด้วยเหตุนี้วัฒนาธรรมการส่ง ดวง วิญญาณ ของมนุษย์จึงประกอบกันด้วยหลากหลายรูปแบบและพิธีที่กล่าวมาในข้างต้นก็คือหนึ่งในนั้น  พิธีลอยอังคาร คืออะไร มารู้จักกันก่อน พิธีลอยอังคาร แต่เดิมในอดีตนั่นการส่ง ดวง วิญญาณ มีด้วยกันหลายรูปแบบตามแต่ละความเชื่อ และตามแต่ละภูมิภาค แต่ในพุทธศาสนาของไทยนั่นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี กับการกำจัดร่างกายที่สิ้นลมหายใจนี้แล้ว ได้แก่ ฝัง หรือ เผา การฝั่งคือการนำศพไปฝังในป่าช้าตามแบบธรรมเนียมโบราณ การเผ่าคือการจัดการศพที่ดีที่สุดเพราะจะลดปริมาณของวัตถุให้มีขนาดที่เล็กลงและพอจะบรรจุให้ภาชนะเล็ก ๆ ได้ และต่อจากขั้นตอนการเผานี้เองที่เราจะนำเศษเถ้าผงเหล่านั้นไปทำพิธีกรรมนี้ ซึ่งมีความเชื่อกันว่าให้สารน้ำพัดพาจิตวิญญาณไปยังภพภูมิที่ดี ทำให้กลายเป็นธรรมปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง  ต้นกำเนิดของการทำ พิธีลอยอังคาร ต้นกำเนิดของ พิธีลอยอังคาร ที่เก่าและหาได้น้อยที่สุดเริ่มขึ้นเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพิธีกรรมลักษณะนี้จะไม่มีการบันทึกไว้ให้เห็นในหมู่ของสามัญชนทั่วไป แต่จะมีบันทึกเป็นพิธีกรรมที่กระทำโดยชนชั้นสูง ในวรรณะกษัตรหรือขุนนางใหญ่โตทั้งหลาย ในพุทธศาสนามีความเชื่อกันว่าเทพเจ้าแห่งสายน้ำก็คือพระแม่คงคา เป็นพระแม่ที่ได้เคยใกล้ชิดและช่วยเหลือพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังมีช่วยร่วมให้เหตุการณ์สำคัญมากมายของการตรัสรู้ ทำให้คนโบราณเชื่อว่าพระแม่คงคาจะเป็นสื่อสารที่จะนำพา ดวง วิญญาณ ที่ลาลับไปแล้วไปยังภพภูมที่ดีได้ง่าย และยังสามารถพัดพาดวงจิตเหล่านั้นให้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เพราะในความเชื่อของไทย เชื่อว่าน้ำ สายน้ำ และพระแม่คงคา คือสื่อกลางที่จะใช้สื่อการกับโลกมนุษย์และโลกแห่งวิญญาณได้ง่าย เราจึงจะเห็นได้จากการทำบุญ ที่ในสังคมไทยมักจะนิยมกรวดน้ำเพื่อฝากบุญกุศลเหล่านั้นไปยังผู้ล่วงลับ โดยขนบธรรมเนียมได้รับการสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน […]

บวชหน้าไฟ อุทิศส่วนบุญกุศลให้คนเป็นหรือคนตาย

บวชหน้าไฟ

บวชหน้าไฟ พุทธศาสนิกชนหลายท่านคงจะเคยได้ยินคำนี้กันอยู่ ความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านานนี้มีที่มาจากอะไร แล้วบวชเพื่อใคร คนเป็นหรือคนตาย งานศพ กันแน่ ?พิธีกรรมและความเชื่อที่ปู่ย่าตายายซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันมาอย่างช้านานไม่ว่าในเทศกาลประจำปี เทศกาลใหญ่ ๆ หรือประเพณีของชาวบ้านตามต่างจังหวัดเป็นภาพที่เราเห็นมาจนชินตาแล้วอย่างเช่น  การบวชเณร การสวดมนต์ไหว้พระ การถวายสังฆทาน รวมไปถึง การบวชหน้าไฟด้วย ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า แท้จริงแล้วมีที่มาจากอะไรกันแน่ ถึงแม้ว่าหลายคนคงจะเข้าใจกันดีว่าเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในช่วง งานศพ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ตายก็ตาม แต่รายละเอียดลึก ๆ นั้นเราเข้าใจกันถูกมาตลอดหรือไม่ มาติดตามกัน อธิบายความหมายของ บวชหน้าไฟ คืออะไร ความหมายของคำว่า บวชหน้าไฟ หรือ บรรพชาสามเณรหน้าไฟ พระธรรมกิตติวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้ให้นิยามความหมายไว้ว่า เป็นการบวชของลูกหลานเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ตาย ลักษณะจะเป็นการบวชสามเณรมากกว่าบวชภิกษุเสียมากกว่า เพราะใช้ระยะเวลาไม่นานเพียงแค่ 1 -2 วันเอง และใช้เวลาเตรียมการไม่มากจุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งของการบวชหน้าไฟ นอกจากอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับแล้วอีกอย่างหนึ่ง คือ เพื่อแสดงความกตัญญูตอบแทนผู้มีพระคุณในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะบวชต่อหน้าไฟที่กำลังเผาร่างของผู้ที่ล่วงลับไป ซึ่งการบวชนี้บางคนอาจเรียกว่าเป็นการบวชเฉพาะกิจก็ได้ เพราะบางคนอาจไม่สะดวกในการลาหรือติดธุระจึงบวชในช่วงเช้า พอบ่ายเผาศพ หลังจากเสร็จ งานศพ อาจสึกทันทีเลยก็มีเหมือนกัน  ประวัติความเป็นมาของการ บวชหน้าไฟ ความเป็นมาของการ […]

เก็บ อัฐิ ประวัติ ขั้นตอนและความเชื่อ พร้อมสิ่งที่ต้องเตรียม

กระดูก

เก็บ อัฐิ พิธีการทางศาสนาของประเทศไทยเราที่มีความเชื่อต่าง ๆ เรื่องเล่าต่าง ๆ มายาวนานอย่างการเก็บกระดูก หรือเก็บอัฐิผู้ตาย จะเริ่มขึ้นหลังจากพิธีเผาหรือฌาปนกิจศพเสร็จสิ้นไปแล้ว และปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 1 คืน รุ่งขึ้นการเก็บกระดูก หรือพิธี บรรจุ อัฐิ จึงเริ่มขึ้น โดยผู้เป็นสัปเหร่อจะนำกองกระดูกที่เหลือจากการไหม้มากองรวมไว้เป็นสัดส่วน ๆ จัดเรียงให้เรียบร้อยเพื่อให้ญาติ ๆ ได้เลือกได้อย่างสะดวก ตั้งแต่กะโหลกศีรษะ ลำตัว แขนขา การเก็บกระดูกเพื่อการลอยอังคาร พร้อมการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์ต่อไป ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับประวัติการเก็บกระดุกคนตาย และขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงรูปแบบและสิ่งที่ต้องเตรียม พร้อมกับ พิธี บรรจุ อัฐิ เป็นเรื่องที่คุณจะต้องทำการศึกษาไว้เมื่อถึงเวลาที่จะต้องคนการเก็บกระดูกผู้ตาย จะเป็นอย่างไรและมีอะไรบ้าง หรือทำไปเพื่อสิ่งใด ประวัติที่มาน่าสนใจแบบไหนไปติดตามกันต่อเลย เก็บ อัฐิ กับประวัติความเป็นมา เก็บ อัฐิ หรือการเก็บกระดูก เป็นเรื่องของความเชื่อมานานกว่า 2500 ปี ซึ่งคนเราเชื่อว่าเป็นการเกิดขึ้นกับการฝังศพครั้งที่ 2 เนื่องจากมีความเชื่อว่าผู้ที่หมดลมหายใจครั้งแรกนั้นยังไม่ตาย เพียงแต่ขวัญที่อยู่ในร่างกายได้หลุดออกไปจากร่างเท่านั้น ซึ่งหากให้หมอขวัญทำพิธีเรียกขวัญให้กลับคืนมาได้ ผู้นั้นก็จะคืนสภาพดังเดิม บรรดาญาติจึงยังไม่ทำพิธีฝังในทันที […]

พวงหรีด ประวัติ ชนิดและการใช้งาน

พวงหรีด

พวงหรีด วัด และงานศพเป็นของคู่กัน แต่มีใครทราบกันบ้างไหมว่าพวงหรีด หรือบางทีก็เรียกกันว่า หรีด นั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีกี่ประเภท และลักษณะการใช้งานเป็นอย่างไร ทั้งหมดนี้เรียกได้ว่าค่อนข้างน่าสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งวันนี้มีโอกาสที่จะมาเล่าให้ทุกคนได้รับทราบกันทั้งหมดถึงเรื่องราวเหล่านี้ กำเนิดของ พวงหรีด พวงหรีด มีกำเนินในประเทศยุโรปทางตอนใต้ ย้อนไปตั้งแต่สมัยอารยธรรมอีทรัส มีการค้นพบหลักฐานเป็นมงกุฎทองคำของนักรบเพื่อสวมใส่ให้เป็นเกียรติเพื่อต้องออกรบ ส่วนใหญ่เป็นลายใบไม้รวมถึงภาพดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ต่อมาสมัยโรมันได้มีการนะใบไม้มาประดิษฐ์เป็นวงสวมไว้ที่ศีรษะ หรือที่เรียกว่า ลอเรลฟรีธ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ผู้สวมใส่ ซึ่งก็คือ หรีด ในยุคสมัยโบราณของต่างประเทศนั่นเอง ทำไม พวงหรีด ถึงเข้ามานิยมในบ้านเราได้อย่างไร สำหรับ พวงหรีด ที่ใช้ในบ้านเรามีนิยมกันตั้งแต่สมัย ร.5 ซึ่งเป็นยุคที่เปิดต้อนรับอารยธรรมยุโรปอย่างเต็มที่ ซึ่งกำลังเป็นยุคล่าอาณานิคมของชาวยุโรป พวงหรีดได้เข้ามาพร้อมการล่าอาณานิคมนี้ มีหลักฐานเป็นภาพถ่ายดอกไม้ที่นำมาตกแต่งเป็นวงกลม ๆ เพื่อนำมาใช้ในพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาดา หรือเจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกของ ร.4 เมื่อปี พ.ศ. 2447 ทำให้มีการคาดเดาว่าเป็น หรีด พวงแรกที่ได้นำเข้ามาในประเทศไทย และต่อมาก็ได้มีการนำมาใช้ในงานศพของบุคลสำคัญ และสามัญชนทั่วไปสืบมาจนถึงทุกวันนี้ รูปแบบของ พวงหรีด ประเภทต่าง ๆ มีแบบไหนบ้าง […]

ดอกไม้จันทน์ ประวัติและการนำไปใช้เป็นอย่างไร

ดอกไม้จันทน์

ดอกไม้จันทน์ พิธีการนำดอกไม้จันทน์ไปใช้ใน งานศพ ถือเป็นการแสดงความอาลัยต่อผู้วายชนม์เป็นครั้งสุดท้ายของบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย เป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้ตายให้ไปสู่สรวงสวรรค์ หรือภพภูมิที่ดี เป็นสิ่งสุดท้ายของผู้อยู่ข้างหลังจะทำไห้กับผู้ตายซึ่งเป็นบุคคลที่รักและเคารพเป็นครั้งสุดท้าย ที่ตำนานเชื่อกันมาอย่างนั้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ประวัติความเป็นมาของดอกไม้จันทน์ วันนี้ของโอกาสมานำเสนอเพื่อให้เป็นวิทยาทาน ดอกไม้จันทน์ การใช้ดอกไม้ในงานอวมงคลต่าง ๆ ดอกไม้จันทน์ เริ่มแรกจะเป็นการนำไม้จันทร์มาทำเป็นหีบศพ และเป็นไม้ฟืนในการเผา หรือการฌาปนกิจศพไปด้วย พร้อมกันนี้ไม้จันทร์ยังถูกนำมาทำเป็นโกศสำหรับบรรจุศพ งานศพ เจ้านายชั้นสูงอีกด้วย ไม้จันทร์เป็นไม้ประวัติศาสตร์ มีประวัติการใช้ที่ได้บันทึกไว้ว่าในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี เมื่อต้องมีการประหารพระเจ้ากรุงธนบุรีเนื่องจากวิกลจริตนั้น เพชฌฆาตก็ใช้ท่อนจันทร์หรือไม้จันทร์เป็นเครื่องมือให้การประหาร และในสมัยโบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัย อยุธยาก็ปฏิบัติเช่นนี้กับเจ้านายชั้นสูงมาโดยตลอด เรื่องได้มาสอดคล้องกับความเชื่อของคนไทยที่ว่าการเผาเครื่องหอมต่าง ๆ เพื่อถวายแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์และการบูชาพระพุทธรูปก็ให้ใช้ธูปหอมที่ทำจากไม้จันทร์เป็นเครื่องสังเวย ไม้จันทร์จึงได้กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในการนำมาทำเป็นเครื่องประกอบกิจในทางศาสนา และการบูชา กราบไหว้ในที่สุด นอกจากนั้นเครื่องหอมไทยต่าง ๆ ก็มีส่วนผสมของไม้จันทร์อยู่ด้วย เช่น กำยาน น้ำอบไทย น้ำปรุงเครื่องสำอางต่าง ๆ ไม้จันทร์เป็นไม้มงคลที่หาไม่ได้ง่าย ๆ ต่อมาไม้จันทร์เริ่มหายากมากขึ้นจะนำมาใช้งานต้องระวัง ในสมัย ร.5 ได้มีการเริ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทร์ขึ้นมาแทนไม้จันทร์ปกติที่เริ่มหายากขึ้นทุกที และเริ่มนำมาใช้กับสามัญชนโดยการนำไม้อื่นๆ มาผสมให้กลมกลืน โดยเฉพาะไม่โมก แต่ก็เริ่มหายากเช่นกัน จึงได้คิดประยุกต์นำไม้อื่น ๆ มาใช้แทนแต่ยังคงชื่อไม้จันทร์เช่นเดิม รูปแบบของการใช้งาน ดอกไม้จันทน์ รูปแบบของ […]

พิธี สวดพระอภิธรรมศพ การสื่อความหมายในพิธี พิธีงานศพ ให้ผู้ที่ยังอยู่และผู้ล่วงลับ

สวดพระอภิธรรม

ใน พิธีงานศพ หลังจากที่เราสามารถนำร่างของผู้ล่วงลับ มาสู่สถานที่ในการประกอบพิธีในงานฌาปนกิจศพแล้วนั้น เราจะพบได้ว่าจะมีรายละเอียดแยกย่อยของงานพิธีต่าง ๆ ตามขั้นตอนจากรูปแบบประเพณีที่สืบต่อกันมาแต่โบราณที่แตกต่างกันไปทั้งในส่วนของการอาบน้ำศพ การรดน้ำศพ การ สวดพระอภิธรรมศพ การประชุมเพลิง หรือรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ของงาน พิธีงานศพ  ซึ่งในส่วนนี้เราจะพบได้ว่าการ สวดพระอภิธรรมศพ นั้นจะเป็นงานพิธีซึ่งจะมีการทำต่อเนื่องตามแต่กำหนดการทำงานพิธีในการ สวดพระอภิธรรมศพ ของผู้ล่วงลับว่าจะมีการจัดงานพิธีไว้ที่ กี่คืนซึ่งในแต่ละค่ำคืนซึ่งได้มีการนำร่างเอาไว้ ณ สถานที่แห่งนั้น ก็จะต้องมีการ สวดพระอภิธรรมศพ ในทุกค่ำคืนเป็นปกติ โดยในส่วนนี้ เราจะพบว่าจะมีรายละเอียดที่ ท่านควรให้ความสนใจสำหรับงาน พิธีงานศพ ในส่วนนี้ซึ่งเราจะอธิบายให้ท่านได้มีความเข้าใจ กันได้โดยง่ายจากเนื้อหาในลำดับต่อไป พิธี สวดพระอภิธรรมศพ ไม่ใช่เพียงการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ในการจัดงาน พิธีงานศพ ถือได้ว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศล หรือเป็นพิธี สวดพระอภิธรรมศพ ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะให้ทางเจ้าภาพครอบครัว หรือเหล่าบรรดาญาติมิตรเครือญาติทั้งหลาย ได้มีโอกาสร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลร่วมกันเพื่อให้แก่ผู้เสียชีวิต หรือผู้ล่วงลับ ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หรือการเคารพนับถือที่มีอยู่ โดยในลำดับต่อไปนี้ เราก็จะมาแนะนำรูปแบบพิธีการ สวดพระอภิธรรมศพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ หรือให้เป็นวิทยาทานสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษา หรือรับทราบวิธีการในส่วนนี้ที่จะสามารถทำความเข้าใจกันได้โดยง่าย ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการ สวดพระอภิธรรมศพ ตามหลักประเพณีไทยทางพระพุทธศาสนาที่มีมาแต่โบราณ […]

ของชำร่วยงานศพ 10 สิ่งยอดนิยมที่มาพร้อมกับประโยชน์ใช้สอย

ของชำร่วยงานศพ

ของชำร่วยงานศพ งานศพเป็นงานที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ทั้งนี้สิ่งที่จะมาควบคู่กับงานศพก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของของชำร่วยนับว่าของสำคัญอีกอย่างซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีในทุก ๆ งานไปถึงแม้ ของชำร่วย ในงานศพมักจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่สิ่งสำคัญที่ยังคงเป็นเหตุผลที่ทำให้การมอบของชำร่วยยังคงอยู่นั้นก็คงเป็นเรื่องของการขอบคุณและสินน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผู้จัดงานศพจะมอบให้กับแขกผู้มาเยือนภายในงานนั่นเอง  ของชำร่วยงานศพ มาทำความรู้จักกับประวัติ  ของชำร่วยงานศพ หากให้กล่าวถึงประวัติของการแจกของชำร่วยในงานศพก็คงสืบเนื่องมาจากความเชื่อของชาวจีนที่ถือว่างานศพเป็นงานที่ไม่เป็นมงคลดังนั้นชาวจีนจึงทำการสร้างวัฒนธรรมการแจกของชำร่วยขึ้นเพื่อให้เปรียบเสมือนกับว่าผู้ที่มางานจะได้พกความโชคดีกลับบ้านไปเพราะการมาเข้าร่วมงานศพก็เป็นเหมือนกับการเข้าร่วมงานที่มีแต่ความโศกเศร้าเสียใจที่อาจจะดึงดูดโชคร้ายเข้ามาได้ นอกจากนี้คำว่า “ของชำร่วย” นั้นยังแปลว่าของที่ผู้จัดงานศพหรือเจ้าภาพมอบให้กับผู้เข้าร่วมงานด้วยความขอบคุณและมอบให้ด้วยความจริงใจ โดยเจ้าภาพจะให้กับผู้เข้าร่วมงานหลังจากงานเลิกนั่นเอง    หลักการเลือก ของชำร่วยงานศพ ตามความชอบหรือประโยชน์ใช้สอยแบบไหนดีกว่ากัน การเลือก ของชำร่วยงานศพ ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักจะขึ้นอยู่กับความชอบของผู้มอบให้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ในบางครั้งสิ่งที่ผู้ให้ควรคำนึงถึงก็ควรจะเป็นในเรื่องของประโยชน์ใช้สอยซึ่งจะช่วยให้ ของชำร่วย ที่ทำการแจกไปไม่โดนโยนทิ้งหรือต้องถูกตั้งทิ้งเอาไว้โดยที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ใด ๆ ได้ ดังนั้นจึงสามารถพูดได้ว่าในยุคที่อะไร ๆ กำลังเป็นเงินเป็นทองอยู่ในขณะนี้นั้นการเลือกสิ่งของตามรูปแบบของประโยชน์ใช้สอยดูจะเป็นอะไรที่ตอบโจทย์และมีประโยชน์มากกว่าการเลือกสิ่งของตามความชอบแต่อาจจะไม่สามารถทำประโยชน์ใด ๆ ได้เลย  เลือกของชำร่วยงานศพต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง ในการเลือก ของชำร่วยงานศพ สิ่งที่เจ้าภาพจัดงานควรที่จะต้องคำนึงถึงก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เองที่มีส่วนสำคัญในการช่วยพิจารณาเป็นของชำร่วยชนิดนั้น ๆ โดยปัจจัยดังกล่าวก็จะมีดังต่อไปนี้ งบประมาณ : เรื่องของงบประมาณเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเมื่อสั่งทำของชำร่วย โดยควรที่จะต้องมีการจำกัดงบที่ใช้เพื่อไม่ให้ราคาของของชำร่วยเกินตัวของผู้จ่ายจนเกินไป ประโยชน์ใช้สอย : เรื่องของประโยชน์ใช้สอยก็เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเพราะหากของชำร่วยที่ให้ไปมีประโยชน์ ผู้รับก็จะสามารถนำไปใช้ต่อไปได้ตามความเหมาะสม ไม่ถูกตั้งทิ้งเอาไว้เฉย ๆ โดยไม่สามารถนำไปทำประโยชน์อื่น ๆ ได้ […]

การ จัด งาน ศพ และ กำหนดการงานศพ ที่สำคัญ

กำหนดการงานศพ

ในการ จัด งาน ศพ สำหรับในกรณีที่มีผู้ล่วงลับแล้วนั้น จำเป็นต้องมีการจัดงานฌาปนกิจ หรือ จัด งาน ศพ ขึ้นให้กับผู้ล่วงลับซึ่งจำเป็นจะต้องมีรายละเอียด กำหนดการงานศพ ที่มีในแต่ละหัวข้อที่จะมีลักษณะเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ที่ทางเจ้าภาพ หรือทางญาติจำเป็นจะต้องทำการปฏิบัติก่อนและหลัง ซึ่งท่านจะสามารถศึกษาได้จากในเนื้อหาต่อไปนี้ ลำดับ กำหนดการงานศพ และการ จัด งาน ศพ ที่ต้องรู้ อย่างที่เราได้เรียนให้ท่านได้ทราบขนาดตอนต้นว่า ในรูปแบบของการ จัด งาน ศพ นั้นจำเป็นต้องมีการ กำหนดการงานศพ ที่ค่อนข้างจะแน่นอน เพราะในแต่ละรูปแบบพิธีการทางราชการ หรือพิธีการทางศาสนา ก็จะมีขั้นตอนในการดำเนินการที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะเป็นลักษณะที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันในแต่ละขั้นตอน ซึ่งในส่วนของขั้นตอนในการดำเนินพิธีการในส่วนนี้ก็จะสามารถแบ่งแยกได้เป็นหัวข้อ ดังต่อไปนี้ การแจ้งตายเพื่อขอใบมรณะ การนำศพไปฌาปนกิจสถาน พิธีการอาบน้ำศพ และพิธีการรดน้ำศพ การจัดงานบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ การบรรจุร่างผู้วายชนม์ พิธีการฌาปนกิจศพ พิธีการเก็บอัฐิ พิธีการลอยอังคาร ซึ่งในแต่ละหัวข้อที่เราได้ จะแจ้งรายละเอียดให้ท่านได้ทราบจะเป็นขั้นตอนในการดำเนินงานพิธีการต่าง ๆ ซึ่งจะมีการเรียงลำดับออกมาอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่ควรจะต้องเป็น ซึ่งท่านสามารถรับทราบถึงข้อมูลที่จะมีการแสดง ขั้นตอนรายละเอียดให้กับท่านได้รับรู้จากเนื้อหาในลำดับต่อไป กำหนดการงานศพ ตามลำดับขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตาม ในส่วนต่อไปนี้ก็จะเป็น […]