บวชหน้าไฟ อุทิศส่วนบุญกุศลให้คนเป็นหรือคนตาย

บวชหน้าไฟ

บวชหน้าไฟ พุทธศาสนิกชนหลายท่านคงจะเคยได้ยินคำนี้กันอยู่ ความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านานนี้มีที่มาจากอะไร แล้วบวชเพื่อใคร คนเป็นหรือคนตาย งานศพ กันแน่ ?พิธีกรรมและความเชื่อที่ปู่ย่าตายายซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันมาอย่างช้านานไม่ว่าในเทศกาลประจำปี เทศกาลใหญ่ ๆ หรือประเพณีของชาวบ้านตามต่างจังหวัดเป็นภาพที่เราเห็นมาจนชินตาแล้วอย่างเช่น  การบวชเณร การสวดมนต์ไหว้พระ การถวายสังฆทาน รวมไปถึง การบวชหน้าไฟด้วย ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า แท้จริงแล้วมีที่มาจากอะไรกันแน่ ถึงแม้ว่าหลายคนคงจะเข้าใจกันดีว่าเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในช่วง งานศพ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ตายก็ตาม แต่รายละเอียดลึก ๆ นั้นเราเข้าใจกันถูกมาตลอดหรือไม่ มาติดตามกัน

อธิบายความหมายของ บวชหน้าไฟ คืออะไร

ความหมายของคำว่า บวชหน้าไฟ หรือ บรรพชาสามเณรหน้าไฟ พระธรรมกิตติวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้ให้นิยามความหมายไว้ว่า เป็นการบวชของลูกหลานเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ตาย ลักษณะจะเป็นการบวชสามเณรมากกว่าบวชภิกษุเสียมากกว่า เพราะใช้ระยะเวลาไม่นานเพียงแค่ 1 -2 วันเอง และใช้เวลาเตรียมการไม่มากจุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งของการบวชหน้าไฟ นอกจากอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับแล้วอีกอย่างหนึ่ง คือ เพื่อแสดงความกตัญญูตอบแทนผู้มีพระคุณในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะบวชต่อหน้าไฟที่กำลังเผาร่างของผู้ที่ล่วงลับไป ซึ่งการบวชนี้บางคนอาจเรียกว่าเป็นการบวชเฉพาะกิจก็ได้ เพราะบางคนอาจไม่สะดวกในการลาหรือติดธุระจึงบวชในช่วงเช้า พอบ่ายเผาศพ หลังจากเสร็จ งานศพ อาจสึกทันทีเลยก็มีเหมือนกัน 

บวชหน้าไฟ

ประวัติความเป็นมาของการ บวชหน้าไฟ

ความเป็นมาของการ บวชหน้าไฟ ซึ่งเป็นประเพณีหนึ่งในงานเผาศพ ซึ่งในสมัยพุทธกาลการเผาศพ หรือประเพณีที่เกี่ยวข้องกับงานศพนั้นยังไม่มีขั้นตอนที่มากมายนัก เมื่อมีผู้เสียชีวิตก็จะเอาศพไปไว้ในป่าช้า หลังจากนั้นแร้งก็จะมาจิกกัดศพ กลายเป็นอาหารอันโอชะของมันไป ภายหลังต่อมาจึงได้ปรับเปลี่ยนกรรมวิธีการจัดการกับศพโดยการนำไปฝัง บางคนอาจมีการนำเอาเครื่องประดับใส่ลงไปด้วยแต่สำหรับการสวดพระอภิธรรมศพและการบวชหน้าไฟ นี้หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ก็ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่ามีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระศพหรือมีการบรรพชาอุทิศส่วนกุศลให้กับพระองค์ท่านแต่อย่างใด จึงสันนิษฐานได้ว่าการสวดพระอภิธรรมศพและการบวชหน้าไฟ นี้ เป็นประเพณีความเชื่อที่คนรุ่นหลังคิดค้นขึ้นมาเอง และยึดถือปฏิบัติใน งานศพ นับตั้งแต่นั้นมา ซึ่งในปัจจุบันการบวชลักษณะนี้ก็จะกระทำกันตามความสะดวกของแต่ละคนบางคนที่ไม่ติดภาระจำเป็นก็อาจบวชต่อไป 2 – 3 วัน หรืออาจบวชถึงสัปดาห์หนึ่งเลยก็มี แต่บางคนอาจติดภาระจำเป็นก็จะบวชเช้า เผาบ่าย แล้วก็สึกเย็นทันทีเลยก็มี ทั้งนี้ทั้งนั้นการบวชต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้บวชเอง การกระทำอะำรก็แล้วแต่ถ้าทำด้วยความกล้ำกลืนฝืนทนมันก็จะส่งผลออกมาได้ไม่ดีเท่ากับความตั้งใจจริง

ขั้นตอนการ บวชหน้าไฟ

กรรมวิธีการ บวชหน้าไฟ ที่เป็นการบวชอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน มีขั้นตอนดังนี้

  • ประสานงานกับวัดที่เราจะทำพิธี เพื่อนัดวันเวลาและกราบอาราธนาขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ หรือพระภิกษุผู้ที่ทำหน้าที่ประธานในการบวชครั้งนี้
  • เมื่อถึงวันที่ทำพิธีให้เดินทางไปวัดที่ทำพิธี ปลงผม โกนคิ้ว โกนหนวด และนำจีวรที่เตรียมไว้ไปหาพระอุปัชฌาย์เพื่อประกอบพิธี
  • พระหน้าไฟจะต้องปฏิบัติกรรมฐานเพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลให้ผู้วายชนม์ โดยจะต้องมีความตั้งใจตลอดห้วงการบวช

สำหรับกรรมวิธีการบวชหน้าไฟ ใน งานศพ ยังคงถือว่าสำคัญมากที่คุณจะต้องทำการศึกษาขั้นตอนให้เข้าใจเบื้องต้น และขั้นตอนแต่ละขั้นตอนก็ล้วนแต่เป็นพิธีสำคัญที่ต้องศึกษาไว้ด้วยมากอยู่แล้ว

บรรพชา

จุดมุ่งหมายของการ บวชหน้าไฟ

ในปัจจุบันพุทธศาสนิกชนหลายท่านยังมีข้อสงสัยกันอยู่ว่าการ บวชหน้าไฟ สรุปแล้วที่บวชกันบวชเพื่อใครกัน คนเป็นหรือคนตาย คำตอบคือ สามารถบวชให้ได้ทั้งคนเป็นและคนตาย สาเหตุเพราะ การบวชนี้เป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วให้ได้รับบุญกุศลอันบริสุทธิ์นั้นไป ซึ่งการที่ผู้ล่วงลับจะได้บุญกุศลจะต้องเกิดจากความตั้งใจของผู้ที่บวช ถ้ามีจิตใจที่แน่วแน่เป็นสมาธิแล้วนั้น ผลบุญก็จะส่งถึงผู้ที่ล่วงลับอย่างแน่นอน อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณอีกด้วยในอีกแง่หนึ่งก็ยังเป็นกุศโลบายให้กับคนเป็นอีกด้วย อาจไม่ได้รับอานิสงฆ์โดยตรง แต่ก็เป็นการเตือนสติให้กับพุทธศาสนิกชนด้วยว่า ให้พยายามทำดีต่อผู้มีพระคุณในขณะที่ท่านยังมีชีวิต เพราะการที่เราทำดีเมื่อท่านล่วงลับไปแล้วมันจะได้บุญน้อยกว่าตอนมีชีวิตอยู่ ซึ่งท่านจะสามารถรับรู้ต่อปฏิกิริยาของเราได้ในทันทีเลย อีกทั้งยังแสดงให้ผู้ที่อยู่ใน งานศพ เห็นถึงการระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ให้อย่าประมาทต่อการใช้ชีวิต มีสติอยู่เสมอ

อานิสงฆ์ที่ได้จากการบวชหน้าไฟ

การบวชเพื่ออุทิศบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น หรือการ บวชหน้าไฟ ผู้ที่บวชจะได้รับอานิสงฆ์อะไรกันบ้างจากการบวชในครั้งนี้  มาติดตามกัน

  • จิตใจสงบสุขในการบวชของลูกกลานผู้ที่เสียชีวิตไปนั้นจำเป็นต้องใช้สมาธิและความตั้งใจจริงอันแน่วแน่ในการบวชครั้งนี้ ถึงจะส่งผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ผลพลอยได้คือ จะทำให้จิตใจเราเป็นสุขด้วย
  • อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ ไปแล้วนั้น เราไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าเขาจะได้ไปสู่ภพภูมิใด เเต่การบวชครั้งนี้อาจส่งผลให้ผู้ที่ล่วงลับได้รับบุญกุศลจากการตั้งจิตเเผ่ไปให้ ซึ่งทัังนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการตั้งจิตอันเป็นกุศลของผู้บวช
  • เตือนสติให้อยู่ในความไม่ประมาทไม่ใช่แค่ได้อานิสงฆ์เฉพาะผู้ที่บวชกับผู้ล่วงลับเท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่ไปร่วมในงานยังได้อานิสงฆ์ทางอ้อมด้วย ถือเป็นการเตือนสติให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ และใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท
  • แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การแสดงออกครั้งนี้ทำให้ผู้ที่อยู่ในงานได้เห็นถึงความกตัญญูของบุตรหลานที่มีต่อผู้ล่วงลับ ซึ่งเป็นการตอบแทนพระคุณที่เคยทำไว้ในครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ ในบางครั้งดวงวิญญาณของเขาอาจรับรู้การแสดงออกของเราก็เป็นได้
  • สั่งสมบุญกุศลของเรา

แน่นอนว่าการกระทำแต่สิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่ดีงาม อย่างเช่น การบวชให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ก็จะได้รับผลบุญไป สำหรับผู้ที่มีความประสงค์อยากจะบวชต่อตามความสะดวกก็จะได้รับผลบุญยิ่งขึ้นไปอีก ผลบุญนี้ก็จะสั่งสมไปในภายภาคหน้าชีวิตคนเราเป็นอะไรที่ไม่แน่ไม่นอน คนที่เรารักอาจพลัดพรากจากเราไปในวันที่เราไม่คาดคิดก็ได้ การ บวชหน้าไฟ เป็นการแสดงการตอบแทนต่อผู้ทีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว และยังเป็นการเตือนสติสำหรับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย ฉะนั้นแล้วจึงสรุปได้ว่าการบวชหน้าไฟเป็นการสวดให้ทั้งผู้ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตอยู่ใน งานศพ แต่สิ่งที่ดีที่สุดนั้น คือ การตอบแทนในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่บุตรหลานควรกระทำเป็นอย่างมาก

สรุปแล้วการ บวชหน้าไฟ จะสามารถพบเจอได้ตาม งานศพ ซึ่งคุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำการศึกษาเพิ่มเติมติดตัวไว้ เพราะการบวชลักษณะนี้ต้องมีอยู่แล้วหากบ้านไหนมีงานศพ อย่างไรความตายทุกคนก็ไม่สามารถหนี้พ้น และจงจำไว้ว่าการบวชลักษณะแบบนี้จะต้องเป็นอย่างไร มีขั้นตอนแบบไหน เป็นต้น

บวชหน้าไฟ บวชเพื่อใครกันแน่ คนเป็น หรือ คนตาย ใน งานศพ ต้องเตรียมการอย่างไร และจะได้อานิสงฆ์อะไรบ้างจากการบวชครั้งนี้ ไปทำความเข้าใจพร้อมกัน

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Susarn

บทความที่น่าสนใจ

งานศพคริส

งานศพคริส พิธีกรรมเพื่อการจากไปของผู้ล่วงลับ

สำหรับในพิธี งานศพคริส นั้นจะเป็นรูปแบบของงานที่มีการจัดขึ้นในกรณีที่มีการจากไปของผู้ล่วงลับที่ได้มีการนับถือศาสนาคริส โดยพิธีการทางศาสนาในส่วนนี้จะนิยมใช้วิธีการในการฝังร่างของผู้ล่วงลับลงใน โลงศพ ก็จะเป็นรูปแบบที่มีความ คล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันไปในแต่ละศาสนาเป็นสิ่งสำคัญแล้วนั้น ก็จะเป็นการแสดงความเคารพการแสดงความอาลัยให้กับการจากไปของผู้ล่วงลับในท่านนั้น ๆ

ทำบุญ100วัน

ขั้นตอนการ ทําบุญ 100 วัน

แนวทางความเชื่อสำหรับในศาสนาพุทธ หลังจากที่ได้มีการเสียชีวิตของทางผู้ล่วงลับนั้นจะมีรูปแบบวิธีการทางศาสนาจากในหลาย ๆ รูปแบบ โดยในส่วนหนึ่งนั้นจะมีการพิจารณา การทำบุญ โดยจะยึดหลักกำหนดการเสียชีวิตของทางผู้ล่วงลับเป็นตัวกำหนดในการจัดพิธีการต่าง ๆ ส่งซึ่งแนวทาง การทำบุญ

สวดพระอภิธรรม

พิธี สวดพระอภิธรรมศพ การสื่อความหมายในพิธี พิธีงานศพ ให้ผู้ที่ยังอยู่และผู้ล่วงลับ

ใน พิธีงานศพ หลังจากที่เราสามารถนำร่างของผู้ล่วงลับ มาสู่สถานที่ในการประกอบพิธีในงานฌาปนกิจศพแล้วนั้น เราจะพบได้ว่าจะมีรายละเอียดแยกย่อยของงานพิธีต่าง ๆ ตามขั้นตอนจากรูปแบบประเพณีที่สืบต่อกันมาแต่โบราณที่แตกต่างกันไปทั้งในส่วนของการอาบน้ำศพ การรดน้ำศพ การ สวดพระอภิธรรมศพ